ดาวน์โหลด 

สารคดีเฉลิมพระเกียรติ มรดกศิลป์ แผ่นดินไทย ตอนที่ 4 ประวัติศาสตร์เรือพระราชพิธี

หลักฐานจากศิลาจารึก กล่าวถึงกระบวนเรือหลวงครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทยที่เก่าแก่ที่สุดเกิดขึ้นในสมัยกรุงสุโขทัย มีการจัดกระบวนเรือไปรับพระศรีศรัทธาราชจุฬามุนีศรีรัตนลังกาทีปมหาสามีเป็นเจ้า
ซึ่งเป็นหลานพ่อขุนผาเมืองที่ได้ไปบวชเรียนอยู่ที่ลังกากลับสู่กรุงสุโขทัยในสมัยพระเจ้าลิไท  ขณะที่หนังสือเรื่องนางนพมาศหรือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ กล่าวถึงชื่อเรือพระที่นั่ง 2 ลำ ที่ใช้ในพิธีอาศยุช
อันเป็นพระราชพิธีโบราณที่ประกอบขึ้นเพื่อสังเวยพระนารายณ์ คือ เรือพระที่นั่งชัยเฉลิมธรณินกับเรือพระที่นั่งชัยสินธุพิมาน  ต่อมาในสมัยอยุธยา  ปรากฏหลักฐานการดัดแปลงเรือรบ
มาเป็นเรือหลวงเพื่อเป็นพระราชยานการเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราชลมารค ซึ่งหมายถึงการสัญจรทางน้ำโดยใช้เรือเป็นพาหนะในภารกิจของพระเจ้าแผ่นดิน
พร้อมด้วยผู้ติดตามเป็นขบวนจำนวนหนึ่งเป็นไปตามราชประเพณี โดยพระราชพิธี หรือ รัฐพิธีสำคัญ 3 กรณี ได้แก่ พระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน
พระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินไปนมัสการพระพุทธบาทที่สระบุรี และพระราชพิธีเนื่องด้วยพระบรมศพหรือพระศพ
หลังสิ้นกรุงศรีอยุธยาเรือพระราชพิธีจำนวนมากถูกทำลายไปดังนั้นช่วงต้นกรุงธนบุรีสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงโปรดให้จัดสร้างเรือพระราชพิธีขึ้นใหม่ส่วนใหญ่เป็นเรือที่ใช้ในการรบจนถึงสมัยรัชกาลที่ 1
ต้นกรุงรัตนโกสินทร์มีการจัดสร้างเรือพระราชพิธีจำนวนมากสมัยรัชกาลที่ 4 มีการใช้เรือพระราชพิธีในการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร เนื่องในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5
รัชกาลที่  6 และรัชกาลที่ 7มีการบันทึกเป็นเอกสารไว้ โดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 7ได้มีการบันทึกภาพถ่าย และเอกสารประวัติศาสตร์ของชาติและเมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ 9
พระองค์ได้สืบสานพระราชประเพณีการจัดขบวนเรือพระราชพิธีตามแบบอย่างในสมัยรัชกาลที่ 7  โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บูรณะปฏิสังขรณ์เรือพระราชพิธีที่ชำรุดใหม่
และโปรดให้สร้างเรือพระที่นั่งลำใหม่ในรัชสมัย คือ เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9  และในช่วงแห่งการครองสิริราชสมบัติ รัชกาลที่ 9
ได้เสด็จพระราชดำเนินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารคไปในการทอดผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวราราม และในพิธีสำคัญต่างๆ


 

ไฟล์แนบ
  

จำนวนการเข้าชม 3,894 ครั้ง