คำเกี่ยวกับพระราชพิธีบรมราชาภิเษก 

พยุหยาตรา - พยุหบาตรา (๒)

พยุหยาตรา-พยุหบาตรา (๒)
[พะ-ยุ-หะ-ยาด-ตฺรา-พะ-ยุ-หะ-บาด-ตฺรา]
 
พยุหยาตรา หรือที่โบราณท่านเรียก พยุหบาตรา หมายถึง ขบวนเสด็จพระราชดำเนินของพระมหากษัตริย์
ที่ประกอบด้วยสรรพกำลัง [สับ-พะ-กำ-ลัง] จำนวนมาก จัดเป็นรูปขบวนอย่างมีแบบแผน 
เพื่อเสด็จพระราชดำเนินไปในการใดการหนึ่ง ในสมัยโบราณคงเป็นเรื่องของการพระราชสงคราม
มีการจัดทัพเป็นขบวนพยุหยาตราเพื่อไปโจมตีข้าศึกหรือออกไปรับข้าศึกที่ยกเข้ามารุกรานพระราชอาณาเขต
ถ้าไปทางบก ก็เรียกว่า “พยุหยาตราทางสถลมารค” [สะ-ถน-ละ-มาก] ซึ่งมีทั้งขบวนช้าง ขบวนม้า และขบวนเดินเท้า 
ถ้าไปทางน้ำก็เรียกว่า “พยุหยาตราทางชลมารค” [ชน-ละ-มาก] การพระราชสงครามสมัยโบราณนั้นคงต้องมีทั้งขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค
และพยุหยาตราทางชลมารค คงจะขาดอย่างหนึ่งอย่างใดมิได้
ที่สำคัญคือ เมื่อมีการผลัดแผ่นดิน มีพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ พระมหากษัตริย์พระองค์นั้นจะต้องเข้าพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
เสร็จการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว ก็ต้องเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยขบวนพยุหยาตราทั้งทางสถลมารคและทางชลมารคด้วย
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
จำนวนการเข้าชม 2,843 ครั้ง