ดาวน์โหลด 

สารคดีเฉลิมพระเกียรติ มรดกศิลป์ แผ่นดินไทย ตอนที่ 40 เรือดั้ง

เรือดั้ง ทำหน้าที่เป็นเรือป้องกันขบวนเรือ ไม่พบประวัติการสร้าง คำว่า “ดั้ง” แปลว่า “หน้า” ดังนั้น เรือดั้ง      จึงหมายถึงเรือหน้า คำว่าเรือดั้ง พบครั้งแรกในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ในปีพุทธศักราช 2506
กรมอู่ทหารเรือได้ต่อเรือดั้ง 6 ขึ้นใหม่ โดยวางกงเหล็ก เพื่อให้เรือแข็งแรงและทนทานทำให้ตัวเรือหนักมากมีการ  ซ่อมใหญ่ในปีพุทธศักราช 2524 และในการเสด็จเลียบพระนครทางชลมารค โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค
เนื่องในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พ.ศ.2562 นี้ ได้มีการซ่อมอาภรณ์ภัณฑ์ ผ้าหลังคากัญญาลายทองแผ่ลวดดาดผ้าสีขาว ซ่อมปิดทองลวดลายและเปลี่ยนผ้าขาวดาดหลังใหม่ รวมถึงผ้าหน้าโขนลายทองแผ่ลวด ดาดผ้าสีแดง
และซ่อมปิดทองลวดลายที่ชำรุด เรือดั้งนั้น มีจำนวนทั้งสิ้น 22 ลำ มีชื่อเรียกตามลำดับตั้งแต่เรือดั้ง 1 ถึงเรือดั้ง 22 ใช้เป็นขบวนสายนอก โดยเรือดั้ง 1 - 20 ทาสีน้ำมันเป็นสีดำ ส่วนเรือดั้ง 21 - 22 เป็นสีทอง โดยเรือดั้งทั้ง 22 ลำไม่มีลวดลาย
ส่วนหัวตั้งสูงงอน ทั้งนี้เรือดั้งแต่ละลำจะมีความยาวของเรือไม่เท่ากัน แต่จะมีความยาวอยู่ระหว่าง 23.6 - 27.3 เมตร ความกว้าง 1.5 - 1.7 เมตร ในขณะที่กำลังพลประจำเรือประกอบด้วย นายเรือ 1 นายนายท้าย 2 นาย พลสัญญาณ 1 นาย เส้า 2 นาย
ประจำคฤห์ 5 นาย (นายทหาร 1 นาย พลทหาร 4 นาย) เหมือนกันทุกลำ แต่สำหรับฝีพายจะมีจำนวนแตกต่างกัน เนื่องจากความยาวของเรือไม่เท่ากัน โดยเรือดั้ง 1มีฝีพาย 32 นาย เรือดั้ง 2 - 4 มีฝีพาย 30 นาย เรือดั้ง 5 - 11 มีฝีพาย 28 นาย
เรือดั้ง 12 - 22 มีฝีพาย 16 นาย

ไฟล์แนบ
  

จำนวนการเข้าชม 1,321 ครั้ง