ดาวน์โหลด 

สารคดีเฉลิมพระเกียรติ มรดกศิลป์ แผ่นดินไทย ตอนที่ 8 เรือพระราชพิธีสมัยรัชกาลที่ 2 และรัชกาลที่ 3

ในสมัยรัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แต่งเรือเป็นขบวนพยุหยาตราอย่างใหญ่ เสด็จไปถวายผ้าพระกฐิน มีเรือพระบรมวงศานุวงศ์
และข้าทูลละอองธุลีพระบาทแต่งเป็นรูปต่างๆ เข้าขบวนเช่นรัชกาลที่ 1 ในรัชกาลต่อมาได้จัดให้มีเช่นกันแต่อาจจัดเป็นขบวนใหญ่บ้าง ขบวนน้อยบ้าง เพื่อไปถวายผ้าพระกฐินในเทศกาลเข้าพรรษาสืบต่อเรื่อยมา
แม้ว่าในสมัยหลัง จะเป็นยุคที่พ้นสมัยที่จะใช้เรือรบทางแม่น้ำในการรบแล้ว ก็ยังคงรักษาเรือเหล่านั้นไว้สำหรับการพระราชพิธีด้วย 
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ช่างทำเรือพระที่นั่ง เพื่อประกอบขึ้นไว้เป็นเกียรติยศสำหรับแผ่นดิน ประกอบด้วย
เรือพระที่นั่งประกอบพื้นครามอ่อน รัตนดิลก เรือพระที่นั่งประกอบพื้นแดง ศรีสุนทรไชย เรือพระที่นั่งเอกไชยเขียนทองแดงพื้นแดง พระที่นั่งประกอบครุฑ มงคลสุบรรณ เรือพระที่นั่งเหราประกอบ สุวรรณเหรา
เรือพระที่นั่งกราบสุดสายตา เรือพระที่นั่งรองกลีบสมุทร เรือพระที่นั่งกราบที่มีชื่อคล้องจองกัน ได้แก่ ขจรกรุง รุ้งประสานสาย  ชายลมหวน ประพาศแสงจันทร์ ตะวันส่องแสง แท่งทองหล่อ ล่อใจชื่น
รื่นใจชม สมทรงสลวย เรือพระที่นั่งกราบ ยาว 15 วา เรือพระที่นั่งกราบ สุทธาทิพย์ บันลังก์ทอง บันลังก์เงิน บันลังก์แก้ว บรรทัดทอง และกล้องสลัด รวมทั้งเรือศรี เรือประกอบ เรือเอกไชย เรือกราบ เป็นเรือพระที่นั่งจำนวน 24 ลำ
 
 

ไฟล์แนบ
  

จำนวนการเข้าชม 2,136 ครั้ง